- หน้าแรก
- ข้อมูล อบต.
- ยุทธศาสตร์/แผนงาน
- ผลงานเด่น
- รายงาน
- ข่าว อบต.
- ภาพกิจกรรม
- ผลิตภัณฑ์ตำบล
- แหล่งท่องเที่ยว
- คู่มือการปฏิบัติงาน
- E - Service
- การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใส (ITA)
- ปฏิทินกิจกรรม
- กระดานสนทนา
- กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
- คลังความรู้เพื่อประชาชน
- เรื่องราวร้องทุกข์
- คู่มือการให้บริการ
- พรบ.อำนวยความสะดวก
- การบริหารและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
- การจัดการองค์ความรู้ (KM)
- การส่งเสริมความโปร่งใส
- ข้อบัญญัติ
- นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

๑. องค์การบริหารส่วนตำบลคู มีอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.๒๕๓๗ แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ ๗) พ.ศ.๒๕๖๒ ดังนี้ - มีหน้าที่ในการพัฒนาตำบลทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม ตามมาตรา ๖๖ - มีหน้าที่ต้องทำในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล ตามมาตรา ๖๗ ดังนี้ ๑. จัดให้มีและบำรุงรักษาทางน้ำและทางบก ๒. รักษาความเป็นระเบียบเรียบร้อย การดูแลการจราจร และส่งเสริมสนับสนุนหน่วยงานอื่นในการปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว ๓. รักษาความสะอาดของถนน ทางน้ำ ทางเดิน และที่สาธารณะรวมทั้งกำจัดมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล ๔. ป้องกันและระงับโรคติดต่อ ๕. ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ๖. จัดการ ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการศึกษา ศาสนา วัฒนธรรม และการฝึกอบรมให้กับประชาชน รวมทั้งการจัดการหรือสนับสนุนการดูแลและพัฒนาเด็กเล็กตามแนวทางที่เสนอแนะจากกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา ๗. ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ และผู้พิการ ๘. คุ้มครอง ดูแล และบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ๙. บำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น ๑๐. ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ทางราชการมอบหมายโดยจัดสรรงบประมาณหรือบุคลากรให้ตามความจำเป็นและสมควร - ภายใต้บังคับแห่งกฎหมาย องค์การบริหารส่วนตำบลคู อาจจัดทำกิจการในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลคู ตามมาตรา ๖๘ ได้ ดังนี้ ๑. ให้มีน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภค และการเกษตร ๒. ให้มีและบำรุงการไฟฟ้าหรือแสงสว่างโดยวิธีอื่น ๓. ให้มีและบำรุงรักษาทางระบายน้ำ ๔. ให้มีและบำรุงรักษาสถานที่ประชุม การกีฬา การพักผ่อนหย่อนใจและสวนสาธารณะ ๕. ให้มีและส่งเสริมกลุ่มเกษตรกรและกิจการสหกรณ์ ๖. ส่งเสริมให้มีอุตสาหกรรมในครอบครัว ๗. บำรุงและส่งเสริมการประกอบอาชีพของราษฎร ๘. การคุ้มครองและดูแลรักษาทรัพย์สินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ๙. หาผลประโยชน์จากทรัพย์สินขององค์การบริหารส่วนตำบล ๑๐. ให้มีตลาด ท่าเทียบเรือ และท่าข้าม ๑๑. กิจการเกี่ยวกับการพิณิชย์ ๑๒. การท่องเที่ยว ๑๓. การผังเมือง ๒. องค์การบริหารส่วนตำบลคู มีอำนาหน้าที่ตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถื่น พ.ศ.๒๕๔๒ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ตามมาตรา ๑๖ ดังนี้ ๑. การจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง ๒. การจัดให้มีและบำรุงรักษาทางบก ทางน้ำ และทางระบายน้ำ ๓. การจัดให้มีและควบคุมตลาด ท่าเทียบเรือ ท่าข้าม และที่จอดรถ ๔. การสาธารณูปโภคและการก่อสร้างอื่น ๆ ๕. การสาธารณูปการ ๖. การส่งเสริม การฝึก และการประกอบอาชีพ ๗. การพาณิชย์ และการส่งเสริมการลงทุน ๘. การส่งเสริมการท่องเที่ยว ๙. การจัดการศึกษา ๑๐. การสังคมสงเคราะห์ และการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก สตรี คนชรา และผู้ด้อยโอกาส ๑๑. การบำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น ๑๒. การปรับปรุงแหล่งชุมชนแออัดและการจัดการเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย ๑๓. การจัดให้มีและบำรุงรักษาสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ ๑๔. การส่งเสริมกีฬา ๑๕. การส่งเสริมประชาธิปไตย ความเสมอภาค และสิทธิเสรีภาพของประชาชน ๑๖. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของราษฎรในการพัฒนาท้องถิ่น ๑๗. การรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง ๑๘. การกำจัดมูลฝอย สิ่งปฏิกูล และน้ำเสีย ๑๙. การสาธารณสุข การอนามัยครอบครัว และการรักษาพยาบาล ๒๐. การจัดให้มีและควบคุมสุสานและฌาปนสถาน ๒๑. การควบคุมการเลี้ยงสัตว์ ๒๒. การจัดให้มีและควบคุมการฆ่าสัตว์ ๒๓. การรักษาความปลอดภัย ความเป็นระเบียบเรียบร้อย และการอนามัยโรงมหรสพ และสาธารณสถานอื่น ๆ ๒๔. การจัดการ การบำรุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากป่าไม้ ที่ดินทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ๒๕. การผังเมือง ๒๖. การขนส่งและวิศวกรรมจราจร ๒๗. การดูแลรักษาที่สาธารณะ ๒๘. การควบคุมอาคาร ๒๙. การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ๓๐. การรักษาความสงบเรียบร้อย การส่งเสริมและสนับสนุนการป้องกันและรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ๓๑. กิจการอื่นใดที่เป็นประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด |
|
