- หน้าแรก
- ข้อมูล อบต.
- ยุทธศาสตร์/แผนงาน
- ผลงานเด่น
- รายงาน
- ข่าว อบต.
- ภาพกิจกรรม
- ผลิตภัณฑ์ตำบล
- แหล่งท่องเที่ยว
- คู่มือการปฏิบัติงาน
- E - Service
- การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใส (ITA)
- ปฏิทินกิจกรรม
- กระดานสนทนา
- กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
- คลังความรู้เพื่อประชาชน
- เรื่องราวร้องทุกข์
- คู่มือการให้บริการ
- พรบ.อำนวยความสะดวก
- การบริหารและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
- การจัดการองค์ความรู้ (KM)
- การส่งเสริมความโปร่งใส
- ข้อบัญญัติ
- นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

-
องค์การบริหารส่วนตำบลคู
ตำบลคู หรือ คูค่าย ในสมัยกรุงศรีอยุธยา เป็นหมู่บ้านเล็กๆที่ได้รับการขนานนามว่า “ บ้านศักดิ์สิทธิ์ "ซึ่งเป็นหมู่บ้านทางผ่านของทัพเจ้าเมืองจะนะ (วังโต้) เพื่อเดินทางไปยังมณฑลสงขลา ครั้งหนึ่ง เมืองจะนะ ถูกกองโจรมาลายาบุกโจมตี ทัพเมืองจะนะสู้ไม่ได้ จึงได้ถอยทัพมายังบ้านศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งห่างจากเมืองจะนะ ประมาณ 10 กิโลเมตร โดยเจ้าเมืองจะนะเห็นว่า บ้านศักดิ์สิทธิ์มีทำเลเหมาะสมในการก่อตั้งค่าย จึงได้ก่อตั้งค่ายพร้อมระดมพลเพื่อขุดคูป้องกันการโจมตีจากข้าศึกและเรียกชื่อว่า “ บ้านค่าย ” (บ้านค่าย ในปัจจุบันนั้น คือสวนยางพาราซึ่งอยู่หลังที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลคู) ครั้งเมื่อทางมณฑลสงขลา ทราบว่า เมืองจะนะถูกโจมตีจากกองโจรมาลายา จึงได้ยกทัพมาช่วย ในการสู้รบกันครั้งนั้นทำให้กองโจรมาลายาพ่ายแพ้และล้มตายเป็นจำนวนมาก บ้านค่ายจึงกลายเป็นสุสานขนาดใหญ่ ซึ่งในปัจจุบันนี้ไม่เหลือร่องรอยของสุสานแล้ว
ยังมีเรื่องเล่าต่อไปอีกว่า บ้านค่ายหรือคูค่าย เมื่อสงครามสิ้นสุดลงได้ทิ้งร่องรอยของคู ซึ่งมีขนาดใหญ่คล้ายลำคลองเอาไว้ โดยใกล้ลำคลองจะมีต้นพิกุล (ปัจจุบันยังคงมีอยู่บริเวณหลังที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลคูทางทิศตะวันตก ประมาณ 200 เมตร ) ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นที่สถิตย์ของสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำหมู่บ้าน นั่นคือ “ โต๊ะหยัง ” ผู้ดูแลรักษา “ ไหทองคำ ” สมบัติของโจรมาลายาที่ตายในสงครามและได้ฝากโต๊ะหยังเอาไว้ คนเฒ่าคนแก่เล่าว่า เมื่อถึงฤดูน้ำหลากผู้มีบุญจะได้เห็น “ ไหทองคำ ” จำนวน 1 คู่ลอยอยู่ในคลอง (คูค่าย) แต่ไม่มีใครสามารถหยิบจับ “ ไหทองคำ ” คู่นั้นมาเป็นเจ้าของได้
“ โต๊ะหยัง ” สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่สถิตอยู่ที่ต้นพิกุลจะสำแดงฤทธิ์แปลงกายเป็นงูใหญ่สีขาว เมื่อมีบุคคลภายนอกเดินทางไปยังบริเวณต้นพิกุล ทั้งนี้เชื่อว่าเป็นการตักเตือนของโต๊ะหยังว่าบริเวณดังกล่าวมีเจ้าของ ห้ามเข้ามากร้ำกราย ในสมัยก่อนเป็นที่เล่าต่อๆกันว่า หากคณะหนังตะลุงหรือมโนราห์จะเดินทางผ่านบ้านศักดิ์สิทธิ์ไปทำการแสดงยังที่อื่นๆหากไม่หยุด ทำการ แสดงเพื่อ ขอผ่านทาง คนในคณะจะเจ็บป่วยกะทันหัน ดังนั้นจึงเป็นที่ทราบโดยทั่วกันของคณะหนังตะลุงและมโนราห์ หากมีความจำเป็นต้องเดินทางผ่านบ้านศักดิ์สิทธิ์จะต้องหยุดทำการแสดงเพื่อขอผ่านทางก่อน จำนวน 1 คืน นั่นจึงเป็นที่มาของชื่อ “ บ้านคูศักดิ์สิทธิ์ ” ซึ่งเป็นหมู่บ้านหนึ่งของตำบลคูในปัจจุบัน
ปัจจุบันความเจริญก้าวหน้าทำให้คนรุ่นใหม่หลงลืมและไม่ใคร่ให้ความยอมรับนับถือ “ โต๊ะหยัง ” จะมีก็แต่คนเฒ่าคนแก่เท่านั้นที่ยังให้การยอมรับนับถืออยู่ ในปัจจุบันยังมีปาฏิหาริย์เกิดขึ้นอยู่ที่ต้น พิกุล ในคืนแรม 15 ค่ำ นั่นคือจะปรากฏลูกไฟขนาดใหญ่ลอยขึ้นไปทางทิศตะวันออกแล้วค่อยๆจางหายไป ทุกวันนี้นักพนันวัวชน, ไก่ชน จะนิยมมาบนบานกับ “ โต๊ะหยัง ” เพื่อให้ได้รับชัยชนะและจะกลับมาแก้บนในภายหลัง ซึ่งก็แล้วแต่ว่าจะบนบานเอาไว้ว่า อย่างไร และนี่คือประวัติความเป็นมาของ “ ตำบลคู ” ตำบลที่มีชื่อเพียงพยางค์เดียว แต่มีประวัติความเป็นมาที่ยาวนานและน่าประทับใจ
-
วิสัยทัศน์องค์การบริหารส่วนตำบลคู
" พัฒนาคุณภาพชีวิต ส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชน คนในตำบลอยู่ร่วมกันเสมอภาคและเป็นธรรม "
